วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

สอบปลายภาค


1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
            ยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยี มีเทคโนโลยี  มีนวัตกรรมใหม่ๆอย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์และเป็นเครื่องช่วยในการศึกษา สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างแน่ชัด ได้อย่างรวดเร็ว รูปแบบการศึกษาที่ต้อเปลี่ยนจากการสอนเป็นกระดานดำสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีอย่าง แท็บแล็ต มาใช้ศึกษาในปัจจุบันเป็นตัวนำที่ทำให้เขาเกิดความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น เพราะได้มีข้อเปรียบเทียบกับโน้ตบุคว่า แท็บแล็ต  ใช้งานสะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์ กินไฟน้อยใช้หน้าจอแบบสัมผัสมีความคล่องตัวกว่าโน้ตบุค พบพาสะดวก
        แท็บแล็ต เป็นเครื่องมือที่เข้าถึงข้อมูลข่าสารได้ง่ายและรวดเร็วกว่าที่จะจดจำเอง  มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเนื้อหามาเป็นกระบวนการ ทักษะการเรียนรู้ กระบวนการคิด การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูไม่ใช่เพียงผู้มอบความรู้แต่เพียงเป็นผู้ออกแบบกระบวนการการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน  คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้มีทักษะกระบวนการอ่าน เขียน ในยุคดิจิตอล
           การใช้ แท็บแล็ต ต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆด้วย ไม่ใช่ แท็บแล็ต แทนหนังสือหรือสื่อต่างๆ ได้นำมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างทักษะการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน  ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เป็น   ตัวเชื่อมโยงกิจกรรม สามารถสร้างระดับการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ของผู้เรียนได้อย่างสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และข้อสำคัญของ แท็บแล็ต เป็นเครื่องมือของครูในการสร้างทักษะการเรียนรู้ให้เด็กๆ  ไม่ได้มาสอนเด็กๆแทนครู  ครูยังเป็นคนสำคัญที่สุดในการออกแบบการเรียนรู้และทำการเรียนการสอนให้กับเด็กๆ
ที่มา : http://www.mict.go.th
                      http://sivimonfai.wordpress.com
                      http://isranews.org

2.สมาคม อาเซี่ยน
ไทยกับสมาคมอาเซี่ยน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซี่ยน ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับและไทยก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซี่ยนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด ซึ่งมีสภาพแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตึงเครียด ผลมาจากสงครามเย็น มีความขัดแย้งอุดมการณ์ ในขณะเดียวกันความขัดแย้งดินแดนระหว่าง มาลายูและฟิลิปปินส์ เรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาร์และซาลาวัก  ในขณะเดียวกัน ดร.ถนัด คอมันตรี  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ได้เดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และร่วมกันลงนามเพื่อก่อตั้งอาเซี่ยน  หลังจากนั้นอาเซี่ยนได้ขยายสมาชิกเป็น 10 ประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีบทบาทเชี่ยมโยงประเทศที่ก่อตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง
ประเทศเพื่อนบ้านกับสมาคมอาเซียน
จุดเด่นของประเทศเพื่อนบ้าน
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านกับประเทศไทยจะมีการขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทางติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม.อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียนดนาม 84 กม.
มันจะมีผลที่ดีคือ การขนส่ง logistic ใน AEC จะพัฒนาอีกมาก และจากการที่ไทยอยู่ตรงกลางทำให้เราขายของได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางฝั่งซ้ายก็ได้ ทางฝั่งขวาก็ได้  ที่ดินในไทยบริเวณดังกล่าวก็น่าจะมีราคาสูงขึ้นและที่พม่ายังมี โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงการ “ทวาย” ที่เส้นทางสอดคล้องกับ East West Economic Corridor โดยทวายจะกลายเป็นทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่สำคัญมากต่ออาเซียน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียจำเป็นต้องใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น ขณะเดียวกันโปรเจกต์ทวายนี้ยังเป็นต้นทางรับสินค้าจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียหรือสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซ ซึ่งจะถูกนำเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรเคมีภายในพื้นที่โปรเจกต์ทวาย เพื่อส่งผ่านไทยเข้าไปยังประเทศกลุ่มอินโดจีนเช่น ลาว กัมพูชา และไปสิ้นสุดปลายทางยังท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม และจะถูกส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและจีน
การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียน
      1. ควรมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียน ทั้งในด้านประโยชน์ที่ได้รับและข้อควรระวัง
     2. การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียน ในด้านการเรียนรู้จำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้ ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ และการดำรงอยู่ของรัฐบาลไทยเพิ่มมากขึ้น
     3.  ปรับกระบวนการเรียนรู้  การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนที่รู้เท่าทันสถานการณ์
     4. จำเป็นต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ
     5. พัฒนาความเป็นคนมีวินัย  มุ่งเน้นความสามารถในการดำรงชีวิตภายใต้วัฒนธรรมของสังคม
     6. สร้างความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ควรพัฒนาตนเองให้แน่ใจว่า สามารถทำงานกับผู้คนต่างวัฒนธรรมได้
    7. เรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
    8. สร้างโอกาสในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้


3.บทความ ผศ.ดร.สมาน ฟูแสง
การที่เราจะเป็นครูได้นั้น เราต้องมีความสารถที่จะต้องสอนนักเรียนของเราแล้วยังไม่พอเราจะต้องรู้จักทำตัวให้เป็นผู้นำทางด้านวิชาการ เพื่อแสดงศักยภาพในการเป็นครูที่ดี บ่งบอกถึงอนาคตข้างหน้าว่าเราสามารถนำลูกศิษย์ไปถึงจุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตัวอย่างเช่น  เมื่อเราจะมอบหมายให้เด็กทำโครงการสักหนึ่งโครงการครูจะต้องอธิบายถึงหลักการต่างๆ  วิธีการดำเนินงาน ให้นักเรียนได้เข้าใจ โดยครูจะต้องคิดโครงการตัวอย่างมาสักหนึ่งโครงการเพื่อที่จะให้เด็กศึกษาเป็นแนวทางที่ถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้น
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
การใช้ บล็อก สนับสนุนการเรียนการสอน  จะช่วยให้ทั้ง ผู้เรียนและผู้สอนสื่อสารข้อมูลข่าวสารถึงกันได้อย่างสะดวก  และเป็นโอกาสให้คนอื่นๆที่เข้าใช้อินเตอร์เน็ตได้  สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น ต่อยอดความรู้ความคิดได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย  นอก จากนี้  บล็อก  ยังสามารถเป็นแหล่งจัดเก็บและนำเสนอผล งานของครูและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี  การพัฒนาความรู้  ความสามารถให้ครูเข้าใจและสามารถสร้าง บล็อก  เพื่อ ใช้ในการเรียนการสอนได้  จะเป็นหนทางไปสู่การปฏิรูป การเรียนการสอนให้เป็นผลสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น
-ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
          มีความพยายามพอสมควร เพราะการใช้  บล็อก  เราตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์ตลอดก็เป็นเรื่องไม่ยากเลย และสนุกในการใช้  บล็อก  อีกด้วย
-เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
          เข้าเรียนทุกคาบ เพราะเป็นวิชาไม่หน้าเบื่อ เรียนแล้วมีความสุข
-ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
          ทำงานส่งตรงเวลาทุกครั้ง บางครั้งมีส่งช้าบ้าง
-ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
          ใช้คิดรวบยอดในการทำงาน พิจารณาเอาแต่จุดสำคัญ  และประเด็นการทำงานให้ตรงตามเป้าหมายที่อาจารย์กำหนดไว้
-สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
           มีความสัตย์จริง
-อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
          เกรด A  เพราะคิดว่าการทำ  บล็อก  ก็มีความรู้สึกชอบเพราะฉะนั้นสิ่งเราชอบก็สามารถทำงานออกมาได้ดี

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9


การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน

      การสร้างบรรยากาศในการเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ คือ ต้องทำให้ผู้เรียน เรียนอย่างกระตือรือร้น (active learning) และตระหนักว่าตนกำลังเรียนอะไรอยู่ ครูจะสามารถสร้างบรรยากาศแบบนี้ได้จาก การจัดชั้นเรียน การสร้างแบบเรียนและกิจกรรมในห้องเรียน และการหาเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้พูดถึงสิ่งที่เรียนออกมาเพื่อจะ ได้รับรู้ว่าตัวเขาเองกำลังทำอะไรอยู่ (self - awareness) เช่น การเขียนไดอารี่ที่พูดถึงการเรียน ปัญหาที่พบ และสิ่งที่ได้เรียนการจัดชั้นเรียน ควรจะให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานกลุ่มเพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกับเพื่อน การสร้าง
แบบเรียนและกิจกรรมในห้องเรียน ควรจะให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรม เลือกการบ้าน และเลือกกลุ่มคนที่เขาอยากจะทำกิจกรรมในห้องเรียนด้วย ผู้เรียนควรจะรู้ว่าเขาถูกคาดหวังให้เรียนอะไรในวิชานั้น เพื่อจะได้รู้ว่าวิธีการเรียนที่เขาเรียนเหมาะสมหรือไม่ และเขาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้หรือไม่ ครูควรจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียนว่า เด็กในชั้นมีความสามารถ ความชอบ และมีแรงจูงใจในการเรียนแตกต่างกัน ถ้าหากกำหนดให้เด็กทำงานแบบเดียวกัน คนทุกคนจะเกิดการเรียนรู้ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ครูควรจะให้ความสำคัญกับการสอนให้เด็กตระหนักว่าเขากำลังเรียนอะไร และเรียนอย่างไร
สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (life-long learning)โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งครูเสมอไป ส่วนผู้เรียนเองจะเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ก็ต้องอยู่ที่ครูจะช่วยสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะสม

ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
         การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวน การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
       บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิด ความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสม บรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้
1.ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
2.ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
3.ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ
4.ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
5.ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
6.ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนใน
ด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด

บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน
    ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริง พรรณี ชูทัย (2522 : 261 ? 263)
กล่าวถึงบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
1.บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำ งาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
2.บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
3.บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
4.บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน
5.บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิ หน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
6.บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความ ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น
บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน








กิจกรรมที่ 8


ครูมืออาชีพในอุดมคติ

                ครูมืออาชีพในอุดมคติของข้าพเจ้าจะต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน และเยาวชนของชาติ การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่าคุณภาพของเด็กสะท้อน คุณภาพของครูดังนั้นครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ เมตตา และกัลยาณมิตร ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป

ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้

1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน

2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น

3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้

4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน

5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น

6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน

7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน

8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 6

เรียงความเรื่องแม่
เด็กเหล่านี้น่าสงสารจังเลย  เรามาเป็นกำลังใจให้กับพวกเขากัน

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่7

โทรทัศน์ครู

1.สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน

สอนเรื่อง ธรรมะทันสมัย  โดยใช้ป๊อปอัพ

ผู้สอนคือ . บุญยิน  ศรีระวัตร

ระดับชั้น ประถมศีกษาปีที่ 4

2 . เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง

                เนื้อหาที่ใช้ในการสอนจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาพระพุทธศานาซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กทุกวันนี้ไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควาร จึงต้องประยุกต์ให้เนื้อหาในการเรียนให้มีความน่าสนใจขึ้น ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้เด็กคิดนึกถึงธรรมะในจิตใจของเด็กสิ่งไหนบ้างที่เราสามารถนำมาใช้ในชีวิติประจำวัน   นำมาสอนตัวเองและบุคลรอบตัวไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ คุณแม่ ฯลฯ

3 . จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)

จากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เกิดประโยชน์ในด้านการจัดกิจกรรมดังนี้

สติปัญญา = IQ. ในขณะที่อ่านก่อนลงมือทำป๊อปอัพ ระบายสี และ ออกไปเล่าให้เพื่อนฟังหน้าห้องเรียนทำให้ตัวนักเรียนเองเกิดสติปัญญาและความรู้ในเรื่องนั้นๆ อีกทั้งเพื่อนๆก็ได้เรียนรู้ เข้าใจ และสามารถจดจำสิ่งที่เพื่อนๆได้เล่าให้ฟัง เกิดสติปัญญาให้การใช้เครื่องอย่างถูกต้องและขั้นตอนในการทำโดยการมีสติ อีกทังยังนำความรู้ที่ได้ลงมือทำป๊อปอัพไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆ

อารมณ์= EQ. ขณะช่วงระบายสีนั้นทำให้นักเรียนเกิดอารมณ์สุนทรี มีความคิดสร้างสรรค์ ถ่ายทอดออกมาทางศิลปะ รู้สึกผ่อนคลาย และสนุกสนาน

คุณธรรมจริยธรรม=MQ.นักเรียนมีความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมมีน้ำใจช่วยเหลือในการแสดงออกความคิดเห็นการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียนและนอกห้องเรียน

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร


บรรยากาศในห้องเรียนจะเป็นแบบสบายๆภายในห้องเรียนสะอาด มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกมีการจัดโต๊ะนั่งจะจัดเป็นกลุ่มให้นักเรียนนั่งเรียน เรียนเป็นกลุ่ม ห้องเรียนโล่งสบาย มีมุมหนังสือ มุมจัดบอร์ด มุมนั่งเล่น จัดอย่างเป็นระเบียบ และอย่างให้นักเรียนศึกษานอกห้องเรียนด้วยเพื่อที่จะฝึกทักษะความรู้ต่างๆมากมายด้วย


               

            
               

กิจกรรมสอบกลางภาค


บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความนี้

 การที่เราเป็นครูนั้นต้องรู้จักประมาณตนเอง พอเพียงในสิ่งที่ตนมี รู้จักใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำเอาพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต พระองค์ทรงสอนให้เราพอเพียง รู้จักรักษาทรัพยากรธรรมชาติ รู้จักใช้หลักในการดำรงชีวิต ทรงคิดโครงการแก้มลิงในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นในการที่เราจะไปเป็นครูในภายภาคหน้าเราควรที่จะใช้ชีวิตในหลักเศรษฐกิจพอเพียง พอในสิ่งที่ตนมี ไม่ใช้จ่ายเกินตัว รู้จักเก็บออม กินอย่างมีความสุขโดยการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ปลูกผักไว้กินเอง ใช้ชีวิตให้มีความสุขกับแนวทางพระราชดำรัสของพรบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนกับเด็กได้ โดยนำแนวคิด พระราชดำรัสไปประกอบการเรียนการสอน พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้เด็กเห็นภาพอย่างชัดเจนสอนให้นักเรียนตระหนักอยู่เสมอว่าการเรียนรู้ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ ให้นักเรียนรู้จักการใช้ชีวิตที่พอเพียง มีวินัยในตนเองรู้จักหน้าที่ของตนเอง มีความรักความสามัคคีซึ่งกันและกัน
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
เราสามารถนำความรู้จากบทความที่ได้นี้ไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอน ไว้ให้เด็กเป็นแนวคิดในหลักการดำรงชีวิต เป็นข้อคิดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

บทความเรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ


1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

การที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จนั้นคนเราไม่จำเป็นต้องเป็นคนเรียนเก่งเสมอไป แต่ต้องเกิดจากใจรักจึงจะสามารถทำสิ่งนั้นให้ประสบผลสำเร็จได้ และการทำงานจะทำคนเดียวไม่ได้จะต้องมีการร่วมมือกันทำงานของบุคคลหลายกลุ่ม จะได้เกิดความคิดที่แตกต่างและหลากหลายงานจึงจะประสบผลสำเร็จได้ และในการทำงานเราก็ควรที่จะเอาใจใส่คนอื่นด้วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้สิ่งตอบแทนที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน ทอง แต่จะเป็นน้ำใจให้กันก็พอก็จะทำให้เกิดความสัมพันธ์กันในกลุ่มที่แน่นหนามากขึ้น

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

ดิฉันจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ได้และทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใด

ก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และจะรักศิษย์ทุกๆคนเท่ากันไม่ว่าเขาจะเรียนเก่งหรือไม่เก่งก็ตามและจะคอยให้คำปรึกษาเวลานักเรียนมีปัญหาต่างๆ

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร

สอนเรื่องความสามัคคี

การเตรียมการสอนเรื่องความสามัคคี

1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องความสามัคคี

2.เรียบเรียงข้อมูลความสามัคคีที่จะนำมาสอน

3.เขียนจุดประสงค์การสอน

4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint ใบความรู้แจกนักเรียน เป็นต้น

5.ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี

การสอน

1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องความสามัคคี

2.แจกใบความรู้นักเรียนเรื่องความสามัคคี

3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับแล้วให้ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี

4.นักเรียนนำเสนอ Mind Map เรื่องความสามัคคี หน้าชั้นเรียน

5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็ให้บันทึกสิ่งที่ได้รับใบความรู้เรื่องความสามัคคี ที่แจกให้

6. ให้คะแนนความสามัคคีภายในกลุ่มจากการสังเกตของครูในแต่ละกลุ่ม