1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
ยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยี มีเทคโนโลยี มีนวัตกรรมใหม่ๆอย่าง "แท็บเล็ต"
(Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์และเป็นเครื่องช่วยในการศึกษา
สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างแน่ชัด ได้อย่างรวดเร็ว
รูปแบบการศึกษาที่ต้อเปลี่ยนจากการสอนเป็นกระดานดำสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีอย่าง
แท็บแล็ต
มาใช้ศึกษาในปัจจุบันเป็นตัวนำที่ทำให้เขาเกิดความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น
เพราะได้มีข้อเปรียบเทียบกับโน้ตบุคว่า แท็บแล็ต ใช้งานสะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์
กินไฟน้อยใช้หน้าจอแบบสัมผัสมีความคล่องตัวกว่าโน้ตบุค พบพาสะดวก
แท็บแล็ต
เป็นเครื่องมือที่เข้าถึงข้อมูลข่าสารได้ง่ายและรวดเร็วกว่าที่จะจดจำเอง มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเนื้อหามาเป็นกระบวนการ
ทักษะการเรียนรู้ กระบวนการคิด การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก
ครูไม่ใช่เพียงผู้มอบความรู้แต่เพียงเป็นผู้ออกแบบกระบวนการการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้มีทักษะกระบวนการอ่าน
เขียน ในยุคดิจิตอล
การใช้ แท็บแล็ต ต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆด้วย
ไม่ใช่ แท็บแล็ต แทนหนังสือหรือสื่อต่างๆ
ได้นำมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างทักษะการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เป็น ตัวเชื่อมโยงกิจกรรม
สามารถสร้างระดับการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ของผู้เรียนได้อย่างสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และข้อสำคัญของ แท็บแล็ต
เป็นเครื่องมือของครูในการสร้างทักษะการเรียนรู้ให้เด็กๆ ไม่ได้มาสอนเด็กๆแทนครู
ครูยังเป็นคนสำคัญที่สุดในการออกแบบการเรียนรู้และทำการเรียนการสอนให้กับเด็กๆ
http://isranews.org
2.สมาคม
อาเซี่ยน
ไทยกับสมาคมอาเซี่ยน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซี่ยน
ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับและไทยก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซี่ยนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด
ซึ่งมีสภาพแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตึงเครียด
ผลมาจากสงครามเย็น มีความขัดแย้งอุดมการณ์ ในขณะเดียวกันความขัดแย้งดินแดนระหว่าง
มาลายูและฟิลิปปินส์ เรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาร์และซาลาวัก ในขณะเดียวกัน ดร.ถนัด
คอมันตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ได้เดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน
และร่วมกันลงนามเพื่อก่อตั้งอาเซี่ยน
หลังจากนั้นอาเซี่ยนได้ขยายสมาชิกเป็น 10 ประเทศ
ทำให้ประเทศไทยมีบทบาทเชี่ยมโยงประเทศที่ก่อตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
โดยมีประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง
ประเทศเพื่อนบ้านกับสมาคมอาเซียน
จุดเด่นของประเทศเพื่อนบ้าน
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านกับประเทศไทยจะมีการขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย
เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทางติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม.อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียนดนาม 84 กม.
มันจะมีผลที่ดีคือ
การขนส่ง logistic ใน AEC จะพัฒนาอีกมาก
และจากการที่ไทยอยู่ตรงกลางทำให้เราขายของได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางฝั่งซ้ายก็ได้
ทางฝั่งขวาก็ได้ ที่ดินในไทยบริเวณดังกล่าวก็น่าจะมีราคาสูงขึ้นและที่พม่ายังมี
โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงการ “ทวาย” ที่เส้นทางสอดคล้องกับ East West Economic Corridor โดยทวายจะกลายเป็นทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่สำคัญมากต่ออาเซียน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียจำเป็นต้องใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น
ขณะเดียวกันโปรเจกต์ทวายนี้ยังเป็นต้นทางรับสินค้าจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียหรือสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง
โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซ ซึ่งจะถูกนำเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรเคมีภายในพื้นที่โปรเจกต์ทวาย
เพื่อส่งผ่านไทยเข้าไปยังประเทศกลุ่มอินโดจีนเช่น ลาว กัมพูชา
และไปสิ้นสุดปลายทางยังท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม
และจะถูกส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและจีน
การเตรียมตัวเป็นครู
นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียน
1. ควรมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น
อันเนื่องมาจากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียน
ทั้งในด้านประโยชน์ที่ได้รับและข้อควรระวัง
2. การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียน
ในด้านการเรียนรู้จำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้
ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ
และการดำรงอยู่ของรัฐบาลไทยเพิ่มมากขึ้น
3. ปรับกระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย
อย่างคนที่รู้เท่าทันสถานการณ์
4. จำเป็นต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ
5. พัฒนาความเป็นคนมีวินัย มุ่งเน้นความสามารถในการดำรงชีวิตภายใต้วัฒนธรรมของสังคม
6. สร้างความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ควรพัฒนาตนเองให้แน่ใจว่า
สามารถทำงานกับผู้คนต่างวัฒนธรรมได้
7. เรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
8. สร้างโอกาสในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้
3.บทความ
ผศ.ดร.สมาน ฟูแสง
การที่เราจะเป็นครูได้นั้น
เราต้องมีความสารถที่จะต้องสอนนักเรียนของเราแล้วยังไม่พอเราจะต้องรู้จักทำตัวให้เป็นผู้นำทางด้านวิชาการ
เพื่อแสดงศักยภาพในการเป็นครูที่ดี บ่งบอกถึงอนาคตข้างหน้าว่าเราสามารถนำลูกศิษย์ไปถึงจุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น
เมื่อเราจะมอบหมายให้เด็กทำโครงการสักหนึ่งโครงการครูจะต้องอธิบายถึงหลักการต่างๆ วิธีการดำเนินงาน ให้นักเรียนได้เข้าใจ
โดยครูจะต้องคิดโครงการตัวอย่างมาสักหนึ่งโครงการเพื่อที่จะให้เด็กศึกษาเป็นแนวทางที่ถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้น
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า
การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร
ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้
นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
การใช้ บล็อก สนับสนุนการเรียนการสอน จะช่วยให้ทั้ง
ผู้เรียนและผู้สอนสื่อสารข้อมูลข่าวสารถึงกันได้อย่างสะดวก และเป็นโอกาสให้คนอื่นๆที่เข้าใช้อินเตอร์เน็ตได้ สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น
ต่อยอดความรู้ความคิดได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย นอก จากนี้ บล็อก ยังสามารถเป็นแหล่งจัดเก็บและนำเสนอผล
งานของครูและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี การพัฒนาความรู้ ความสามารถให้ครูเข้าใจและสามารถสร้าง บล็อก เพื่อ
ใช้ในการเรียนการสอนได้ จะเป็นหนทางไปสู่การปฏิรูป
การเรียนการสอนให้เป็นผลสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น
-ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
มีความพยายามพอสมควร เพราะการใช้ บล็อก
เราตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์ตลอดก็เป็นเรื่องไม่ยากเลย และสนุกในการใช้ บล็อก อีกด้วย
-เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
เข้าเรียนทุกคาบ เพราะเป็นวิชาไม่หน้าเบื่อ เรียนแล้วมีความสุข
-ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
ทำงานส่งตรงเวลาทุกครั้ง บางครั้งมีส่งช้าบ้าง
-ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
ใช้คิดรวบยอดในการทำงาน พิจารณาเอาแต่จุดสำคัญ และประเด็นการทำงานให้ตรงตามเป้าหมายที่อาจารย์กำหนดไว้
-สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง
เขียนอธิบายลงในบล็อก
มีความสัตย์จริง
-อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ
ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
เกรด A เพราะคิดว่าการทำ บล็อก
ก็มีความรู้สึกชอบเพราะฉะนั้นสิ่งเราชอบก็สามารถทำงานออกมาได้ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น